METHOD STATEMENT
METHOD STATEMENT OF RAILWAY RMUIT 1435 mm.
AUTHORISATION
ใช้สำหรับประกอบการควบคุมงานก่อสร้างคันทางรถไฟใหม่พร้อมปรับภูมิทัศน์เป็นทางรถไฟ 1 ทาง ขนาดความกว้างทาง
1.435 เมตร (Standard Guage) ระยะทาง 50 เมตร เพื่อรองรับครุภัณฑ์ชุดฝึกหัวรถจักรรถไฟ มทร.อีสานเท่านั้น
1.การขอเข้าทำงานในพื้นที่ก่อสร้าง (Access and Permits)
2.รายละเอียดและขอบเขตการทำงาน (Scope of Work)
พื้นที่การทำงาน Located Area นอกอาคารเรียนคณะระบบรางและการขนส่ง ฝั่งทิศตะวันตกของอาคาร เป็นงานก่อสร้างคันทางรถไฟใหม่พร้อมปรับภูมิทัศน์เป็นทางรถไฟ 1 ทาง ขนาดความกว้างทาง 1.435 เมตร (Standard Guage)ระยะทาง 50 เมตร เพื่อรองรับครุภัณฑ์ชุดฝึกหัวรถจักรรถไฟ
ภาพแสดงที่ 1 พื้นที่การทำงาน Located Area และ แบบการก่อสร้างพอสังเขป
การก่อสร้างติดตั้งทางรถไฟ ดำเนินการตาม มขร.-C-005-2566 และ AASHTO เพื่อใช้ออกแบบการก่อสร้างและการควบคุมคุณภาพของงานชั้นดินคันทาง(โครงสร้างทางรถไฟส่วนล่าง) ประกอบไปด้วย 1. ชั้นดินถมพื้นทาง (Embankment layer), 2.ชั้นดินเดิม (Subgrade layer) หรือ Top Embankment, 3.ชั้นรองพื้นทาง (Subbase layer) หรือ ชั้นรองหินโรยทาง (Sub-Ballast layer) รวมถึงงานชั้นทางรถไฟ(โครงสร้างทางรถไฟส่วนบน)
ภาพแสดงที่ 2 แบบรายละเอียดหน้าตัดทางรถไฟเพื่อการก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟส่วนล่าง
ภาพแสดงที่ 3 แบบรายละเอียดหน้าตัดทางรถไฟเพื่อการก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟส่วนบน
1. วัสดุและการจัดเตรียมวัสดุ (Materials, Storage and Handlin)
(Materials)วัสดุ | (Photo) รูป |
---|---|
1.ดินถม (San field) | |
2.หินคลุก (Crushed Stone) | |
3.หมอนคอนกรีต (Monoblock Concrete Sleeper) ขนาดความกว้าง 1.435 เมตร | |
4.รางรถไฟ หน้าตัด EN ขนาดน้ำหนัก 54E1 | |
5.หินโรยทาง ชนิด บะซอลท์ (Basalt) | |
6.ชุดเชื่อม Thermit Welding (EN54-E1) | |
7.Geotextile แผ่นใยสังเคราะห์ | |
8.เครื่องยึดเหนี่ยวรางแบบยืดหยุ่น PANDROL VIPA DRS 16688 |
4.เครื่องจักร และ เครื่องมือ (Equipment and Hand Tool)
เครื่องจักร และ เครื่องมือ ที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างงานดินคันทางรถไฟ
(Materials)วัสดุ | (Photo) รูป |
---|---|
1. (Excavator Back-Hoe) แบคโฮ | |
2. (Dump Truck) รถบรรทุกขนดิน | |
3. (Water Truck) รถน้ำ | |
4. (Transport truck) รถเฮี๊ยบบรรทุกของ | |
5. (Grader) รถเกรด | |
6. (Road roller) รถบดถนน | |
7. เครื่องอัดหินด้วยมือชนิดใบบิตเตอร์ Jackson | |
8. เครื่องตัดราง | |
9. แผงยกวางหมอนคอนกรีต | |
10. ชุดเหล็กประกับรางชั่วคราว | |
11. Track Gauge | |
12. เครื่องติดตั้งเครื่องยึดเหนี่ยวรางและสปริงคลิป |
5.ขั้นตอนการทำงาน (Work Method Statement)
5.1 งานดิน Earthwork
ขั้นตอนการทำงานพื้นที่การทำงาน จะดำเนินการงานดิน( Earth Work ) เป็นลำดับแรก เป็นงานการเปิดพื้นที่เพื่อทำเตรียมแนวเส้นทำง ซึ่งเรียกว่างาน Clearing and Grubbing งานถางป่า ขุดตอ หมายถึงการกำจัดต้นไม้ ตอไม้ พุ่มไม้ เศษไม้ ขยะ วัชพืช และสิ่งอื่นๆออก ที่ไม่ต้องการภายในเขตทางหลัก
1. งาน Clearing & Grubbing ก่อนชั้น Embankment โดยใช้เครื่องจักร Back-Hoe หรือ Tractor ให้พื้นที่ ๆ จะก่อสร้ำง
คันทางปราศจาก เศษไม้ หญ้า และเศษวัสดุต่างๆ เป็นต้น ตามแนวเส้นทางที่จะก่อสร้างทาง
ภาพแสดงที่ 4 งาน Clearing & Grubbing ก่อนชั้น Embankment
2. แนวระดับสันรางรถไฟจะต้องอ้างอิงจากแบบระดับสันรางในโครงสร้างอาคาร ซึ่งจะเป็นโครงสร้างทางรถไฟชนิดพื้นทางคอนกรีตที่ระบุระดับไว้แล้ว และเขตแนวเส้นทางที่จะก่อสร้างทางรถไฟใหม่เป็นพื้นที่เนินดินตามลักษณะภูมิประเทศ ดังนั้นโครงสร้างชั้นดินคันทางตามแนวเส้นทางนี้จึงต้องเป็นงานดินตัด เพื่อกดระดับสันรางให้ตรงระดับเดียวกันกับสันรางในอาคาร โครงสร้างทางรถไฟทั้งหมดมีความสูงรวม 1.35 เมตร จากผิวบนชั้นดินถมพื้นทาง(Embankment)
ภาพแสดงที่ 5 งานดินตัดเพื่อก่อสร้างชั้น Embankment
3. เมื่อถึงระดับความลึกที่กำหนดตามโครงสร้างทางรถไฟแล้ว ทำการปรับผิวชั้นดินถมพื้นทาง (Embankment) และทำการบดอัดให้แน่นโดยการ Mix Process & Compacted และตรวจสอบความหนาแน่น 98% (Modified Proctor, MDD.), CBR >5 % ทำการทดสอบความหนาแน่น (Field Density Test) ตาม AASHO T180 และ ASTM D 1557 โดยดำเนินการทดสอบ 3 จุด และทำการเก็บตัวอย่างวัสดุที่หน้างานเพื่อส่งทดสอบคุณสมบัติสำหรับการควบคุมคุณภาพวัสดุที่มาจากแหล่ง
หมายเหตุ : ผลการทดสอบงานปฐพีกลศาสตร์ภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ ตามเอกสารแนบที่ 1.1
ภาพแสดงที่ 6 งานเก็บวัสดุตัวอย่างและการทดสอบความหนาแน่น (Field Density Test)
4. ปูวัสดุ Geotextile บนชั้น Embankment ตลอดความยาวแนวเส้นทาง 50 เมตร และหน้าตัดคันทาง 4 เมตร เพื่อเสริมกำลังโครงสร้างดินคันทางและช่วยระบายน้ำออกจากโครงสร้างดินคันทาง
ภาพแสดงที่ 7 งานปูวัสดุ Geotextile บนชั้น Embankment
5. ดำเนินการลงชั้นดินเดิม (Subgrade layer) หรือ Top Embankment เลือกใช้เป็นทรายถม Fill Sand ทำการปรับระดับให้ได้ความหนาชั้นประมาณ 0.30 เมตร มีการตรวจสอบ แนว ระดับ และตรวจสอบความหนาแน่น 98% (Modified Proctor, MDD.), CBR >10 % ทำการทดสอบความหนาแน่น (Field Density Test) ตาม AASHO T180 และ ASTMD 1557 โดยดำเนินการทดสอบ 3 จุด และทำการเก็บตัวอย่างวัสดุที่หน้างานเพื่อส่งทดสอบคุณสมบัติสำหรับการควบคุมคุณภาพวัสดุที่มำจากแหล่ง
หมายเหตุ : ผลการทดสอบงานปฐพีกลศาสตร์ภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ ตามเอกสารแนบที่ 1.2
ภาพแสดงที่ 8 งานชั้นดินเดิม (Subgrade layer) หรือ Top Embankment
ภาพแสดงที่ 9 งานตรวจวัดระดับความหนาชั้นดินเดิม (Subgrade layer) หรือ Top Embankment
ภาพแสดงที่ 10 งานเก็บวัสดุตัวอย่างและการทดสอบความหนาแน่น (Field Density Test)
6. ดำเนินการลงวัสดุชั้นรองพื้นทาง (Subbase layer) หรือ ชั้นรองหินโรยทาง (Sub-Ballast layer) โดยการ Mix Process & Compacted เลือกใช้เป็นหินคลุก Crush stone มาตรฐานของ Gradation ให้ใช้ Grade A, B,C or D ทำการปรับระดับให้ได้ความหนาชั้นประมาณ 0.30 เมตร มีการตรวจสอบ แนว ระดับ และตรวจสอบความหนาแน่น 98% (Modified Proctor, MDD.), CBR >35 % ทำการทดสอบความหนาแน่น (Field Density Test) ตำม AASHO T180 และ ASTM D 1557 โดยดำเนินกำรทดสอบ 3 จุด และทำกำรเก็บตัวอย่ำงวัสดุที่หน้ำงำนเพื่อส่งทดสอบคุณสมบัติสำหรับกำรควบคุมคุณภำพวัสดุที่มำจำกแหล่ง
หมายเหตุ : ผลการทดสอบงานปฐพีกลศาสตร์ภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ ตามเอกสารแนบที่ 1.3
ภาพแสดงที่ 11 งานชั้นรองพื้นทาง (Subbase layer) หรือ ชั้นรองหินโรยทาง (Sub-Ballast layer)
ภาพแสดงที่ 12 งานตรวจวัดระดับความหนาชั้นรองพื้นทาง (Subbase layer)
ภาพแสดงที่ 13 งานเก็บวัสดุตัวอย่างและการทดสอบความหนาแน่น (Field Density Test)
7. ปูวัสดุ Geotextile บนชั้นรองพื้นทาง (Subbase layer) ตลอดความยาวแนวเส้นทาง 50 เมตร และหน้าตัดคันทาง 4 เมตร ก่อนปูนหินโรยทางชั้นล่าง Bottom ballast เพื่อเสริมแยกชั้นดินคันทางออกจากชั้นหินโรยทาง ช่วยเสริมกำลัง ลดการทรุดตัวและฉีดปนเปื้อนแทรกตัวขึ้นมาของโคลน บนชั้นหินโรยทางเนื่องการเสื่อมสภาพของทาง และช่วยระบายน้ำออกจากโครงสร้างชั้นหินโรยทาง
ภาพแสดงที่ 14 งานปูวัสดุ Geotextile บนชั้นรองพื้นทาง (Subbase layer)
5.2 งานทางรถไฟ Track Work
1. งานปูหิน Bottom Ballast Spreader เลือกใช้หินโรยทาง บะซอลท์ (Basalt)
หมายเหตุ : ผลการทดสอบทางกลสำหรับหิน Ballast เพื่อยืนยันตามหลักการทางวิศวกรรม ตามเอกสารแนบที่ 2.1
➢ งานสำรวจ survey ให้จุดอ้างอิงศูนย์กลางทาง และจุดเริ่มต้นบนพื้นทางที่จะทำงานปูหิน
ภาพแสดงที่ 15 งานจุดอ้างอิงศูนย์กลางทาง และจุดเริ่มต้นบนพื้นทางที่จะทำงานปูหิน
➢ เนื่องจากระยะทางก่อสร้างมีระยะทางสั้น จึงดัดแปลงเครื่องปูหินโรยทางจากใช้ Ballast Spreader box เป็นแบบหล่อพื้นทางถนนคอนกรีตที่ความสูงของแบบหล่อ 0.30 m. เพื่อปู Bottom Ballast ความกว้างของเขตรับทางรถไฟอยู่ที่ 4.8 เมตร
ภาพแสดงที่ 16 งานติดตั้งแบบแนวเขตและความหนาเพื่อปูหิน Bottom Ballast
➢ โรยหิน Ballast ลงในช่วงที่ติดตั้งแบบเอาไว้ โดยความหนาจะอยู่ที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ที่ตำแหน่งศูนย์กลาง
ทาง และที่ริมทางจะอยู่ที่ประมาณ 25 เซนติเมตร
ภาพแสดงที่ 17 งานการปูหินโรยทาง Bottom ballast
➢ เมื่อปูหินจนได้ระยะทางยาวตามที่กำหนดแล้วให้ใช้รถ Back-Hoe แบคโฮ เพื่อเกลียแต่งผิวปรับให้ได้ระดับเดียวกับแบบเหล็ก
ภาพแสดงที่ 18 งานปรับระดับ Bottom ballast
➢ เมื่อปรับเกลียผิวและระดับความหนาได้ตามที่กำหนดแล้ว ให้ใช้รถบดล้อเหล็ก ขึ้นวิ่งบนหินที่ปูไว้เพื่อเป็นการ compaction bottom ballast เพื่อปรับระดับให้เรียบ โดยรถบดล้อเหล็กจะไม่ใช้ระบบสั่นสะเทือนเพราะอาจจะทำให้หิน Ballast แตกได้
ภาพแสดงที่ 18 งานปรับระดับ Bottom ballast ด้วยการ Compaction bottom ballast
➢ หลังจากการ compaction bottom ballast ความหนาของหินโรยทาง ที่ตำแหน่งศูนย์กลางทางประมาณ 25-30 เซนติเมตร และความกว้างประมาณ 2.60 เมตร
ภาพแสดงที่ 19 งานวัดความหนาของชั้นหินโรยทางหลังทาการ Compact
2. งานรายหมอนคอนกรีตพร้อมเครื่องยึดเหนี่ยว
หมายเหตุ : ผลการทดสอบทางกลสำหรับหมอนคอนกรีตพร้อมเครื่องยึดเหนี่ยว เพื่อยืนยันตามหลักการทางวิศวกรรม ตามเอกสารแนบที่ 2.2
➢ การขนส่งหมอนคอนกรีตจากโรงงานผลิตมายังพื้นที่โครงการ โดยสามารถลำเลียงหมอนคอนกรีตเข้าพื้นที่ได้จากทางลำเลียงด้านข้างทางตามแนวเส้นทาง
ภาพแสดงที่ 20 งานลาเลียงหมอนคอนกรีตเข้าพื้นที่หน้างาน
➢ การรายและเรียงหมอนคอนกรีต โดยกำหนดแนวกึ่งกลางทางเพื่อให้กึ่งกลางของหมอนคอนกรีตอยู่ใกล้เคียงกับศูนย์กลางทางมาที่สุด ใช้เครื่องจักร รถขุด (Excavator) พร้อมติดตั้ง Sleeper spreader (Octopus) หรือรถขุด พร้อมตัวยกแผงหมอน (Sleeper Lifting Beam) โดยระยะห่างระหว่างหมอนจะถูกกำหนดไว้ที่ 60 เซนติเมตร
ภาพแสดงที่ 21 งานรายและเรียงหมอนคอนกรีตในแนวเส้นทาง
➢ จัดเรียงระยะห่างระหว่างหมอนคอนกรีตให้ถูกต้อง ตามข้อกำหนดระยะห่าง 60 เซนติเมตร
ภาพแสดงที่ 21 งานจัดเรียงระย่างหมอนคอนกรีตในแนวเส้นทาง
➢ ติดตั้งชุดระบบการยึดเหนี่ยวรางแบบยืดหยุ่น รุ่น PANDROL VIPA DRS 16688
ภาพแสดงที่ 22 งานติดตั้งชุดระบบการยึดเหนี่ยวรางแบบยืดหยุ่น
➢ จัดเรียงระยะห่างระหว่างหมอนคอนกรีตให้ถูกต้องอีกครั้งพร้อมจัดตำแหน่งการตั้งฉากรางกับหมอนและทำจัดแนวหัวหมอนคอนกรีตให้ตรงตามแนวเส้นทาง
ภาพแสดงที่ 22 งานจัดแนวหมอนคอนกรีต
3. การรายรางสั้น
หมายเหตุ : ผลการทดสอบทางกลสำหรับราง หน้าตัด EN 54-E1 เพื่อยืนยันตามหลักการทางวิศวกรรม ตาม
เอกสารแนบที่ 2.3
➢ รางสั้นจะถูกลำเลียงโดยรถบรรทุกเทรนเลอร์จากพื้นที่ก่อสร้างทาง คือ
• ขนรางสั้นมาบนรถบรรทุกเทรนเลอร์และยกวางบนหมอนคอนกรีตที่จัดเรียงแนวระยะรอบนหินโรยทางที่ Compact Bottom Ballast
• การยกรางสั้นลงจากรถ เพื่อวางบนหมอนคอนกรีตที่เตรียมไว้จะใช้รถเครนหรือรถขุด (Excavator) พร้อมอุปกรณ์ยกรางไฟ (Rail Grip) ยกลงจากรถทีละเส้นและวางบนหมอนคอนกรีตเรียงต่อเนื่องกัน
ภาพแสดงที่ 23 งานการยกรางวางบนหมอนคอนกรีต
➢ ทำการประกอบเครื่องยึดเหนี่ยวเข้ากับรางและหมอนคอนกรีตให้ครบทุกตำแหน่ง
ภาพแสดงที่ 23 งานประกอบเครื่องยึดเหนี่ยวเข้ากับรางและหมอนคอนกรีต
➢ ทำการติดตั้งเครื่องประกอบรางชั่วคราวยึดรอยต่อรางไว้เป็นการชั่วคราวก่อนการเชื่อมต่อรางจริง เพื่อจะได้ทำการโรยหินชั้น Final Ballast ต่อไป โดยจะเว้นช่องว่างเผื่อการเชื่อมรางแบบ ATW เอาไว้ 25 มม.
ภาพแสดงที่ 24 งานติดตั้งเครื่องประกอบรางชั่วคราวยึดรอยต่อรางไว้เป็นการชั่วคราว
4. งานโรยหิน Ballast และอัดหินด้วยเครื่องอัดหินมือ
โรยหิน, เกลี่ยหิน, ยกระดับอัดหิน (First Drop Ballasting, First Lifting and Tamping)
➢ การโรยหินที่หัวหมอนทั้งสองฝั่งและบริเวณในแนวเส้นทาง กลางหมอนด้วยรถแบคโฮ
ภาพแสดงที่ 25 งานโรยหินชั้น Final Ballast
➢ งานเกลี่ยหิน, ยกระดับอัดหินด้วยเครื่องอัดหินด้วยมือชนิดใบบิตเตอร์ Jackson ตรวจสอบแนวและระดับสันรางทุกๆ 10 เมตร โดยการยกระดับด้วยรถแบคโฮ ถ้าระดับและความแน่นของ
หินโรยทางยังไม่ได้ในครั้งที่ 1 ให้ดำเนินเติมหินโรยทางและทำการยกระดับอัดหินอีกครั้งให้อยู่ในแนวระดับสันรางที่ถูกต้องตามที่กำหนด
ภาพแสดงที่ 26 งานเกลี่ยหิน, ยกระดับอัดหินครั้งที่ 1
➢ เพื่อให้แน่ใจว่ามิติทางเรขาคณิตของเส้นทางอยู่ในพิกัดที่ถูกต้องแล้ว จะต้องทำการเช็คค่าพิกัดต่างๆ เช่น ค่าพิกัดขนาดทาง ซึ่งในเส้นทางนี้ขนาดความกว้าง 1435 มม. ไม่มีค่าพิกัดความคาดเคลื่อน ± 0 และ ระดับตามขวางรางซ้ายและขวา ไม่มีค่าพิกัดความคาดเคลื่อน ± 0 และค่าอื่นๆเช่น ค่าพิกัดตามยาว, พิกัดตามแนวเส้นทาง, โดยใช้อุปกรณ์ Track Geometry Gauges เป็นต้น ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ภาพแสดงที่ 27 งานการเช็คค่าพิกัดขนาดทาง ขนาดความกว้าง 1435 มม.
➢ เมื่อมิติทางเรขาคณิตของเส้นทางอยู่ในพิกัดที่ถูกต้องแล้ว ให้ทำการตัดรูปทรง (Shape) และความสะอาด (Brooming), เกลี่ยหิน (Regulating ) ให้ได้รูปทรงตามต้องการ โดยบ่าทางจะต้องมีระยะหินโรยทางครอบคลุมออกไประยะ 40 เซนติเมตร ของทั้งสองฝั่งหัวหมอน และหินโรยทางต้องเสมอระดับหลังหมอน โดยห้ามมีก้อนหินโรยทางอยู่ท่วมหรือมีบางก้อนอยู่บนหลังหมอน เพรำาจะทำให้เกิด Ballast Flying
ภาพแสดงที่ 28 งานการตัดรูปทรง (Shape) ของหินโรยทาง
➢ บริเวณจุดสิ้นสุดของเส้นทางที่ตำแหน่งระยะ 50 เมตร ดำเนินแต่งรูปร่างกองหินให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเพื่อเป็น Ballast box buffer stop หยุดรถไฟ
ภาพแสดงที่ 29 งานการตัดรูปทรงหินโรยทางเพื่อเป็น Ballast box buffer stop
5. งานเชื่อมรางโดยวิธี การเชื่อมรางเทอร์มิต ATW เพื่อให้เป็นรางเชื่อมยาว (LWR)
➢ ดำเนินการถอดประกับรางชั่วคราวออกและทำการเชื่อมรางด้วยวิธีเทอร์มิต เพื่อเชื่อมรางเชื่อมยาวแต่ละคู่รางให้เป็นรางเชื่อมยาว (LWR) โดยใช้วิธีเชื่อมแบบเทอร์มิต เป็นกำรเชื่อมรางภาคสนามชนิดหนึ่งที่สามารถเชื่อมรางได้
ภาพแสดงที่ 29 งานเชื่อมรางโดยวิธี การเชื่อมรางเทอร์มิต ATW.
6. ทดสอบรอยเชื่อมด้วยวิธีการทดสอบโดยไม่ทำลาย (Non-destructive testing)
➢ สำหรับรอยเชื่อมที่เสร็จสมบูรณ์แล้วนั้น จะต้องดำเนินการตรวจสอบด้วยการทดสอบโดยไม่ทำลาย (Non-destructive testing) อย่างน้อย 1 วิธีการ เช่น การตรวจสอบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง UT. เพื่อตรวจสอบภายในรอยเชื่อมว่าหลอมผสานกันสมบูรณ์หรือไม่
➢ กรณีผ่านเกณฑ์การยอมรับ ก็จะเป็นอันเสร็จสิ้น
➢ ไม่กรณีผ่านเกณฑ์การยอมรับ ก็จะต้องดำเนินการตัดทิ้งและเชื่อมรางใหม่พร้อมตรวจสอบอีกครั้ง
หมายเหตุ : ผลการตรวจสอบด้วยการทดสอบโดยไม่ทำลาย, Ultrasonic Testing Method เพื่อยืนยันตามหลักการทางวิศวกรรม ตามเอกสารแนบที่ 2.4
ภาพแสดงที่ 30 งานดำเนินการตรวจสอบด้วยการทดสอบโดยไม่ทำลาย, Ultrasonic Testing Method
6 เอกสารแนบ (Attachment)
➢ ผลการทดสอบงานปฐพีกลศาสตร์ภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ ตามเอกสารแนบที่ 1.1
➢ ผลการทดสอบงานปฐพีกลศาสตร์ภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ ตามเอกสารแนบที่ 1.2
➢ ผลการทดสอบงานปฐพีกลศาสตร์ภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ ตามเอกสารแนบที่ 1.3
➢ การทดสอบทางกลสำหรับหิน Ballast เพื่อยืนยันตามหลักการทางวิศวกรรม ตามเอกสารแนบที่ 2.1
➢ ผลการทดสอบทางกลสำหรับหมอนคอนกรีตพร้อมเครื่องยึดเหนี่ยว เพื่อยืนยันตามหลักการทางวิศวกรรม ตาม
เอกสารแนบที่ 2.2
➢ ผลการทดสอบทางกลสำหรับราง หน้าตัด EN 54-E1 เพื่อยืนยันตามหลักการทางวิศวกรรม ตามเอกสารแนบที่ 2.3
➢ ผลการตรวจสอบด้วยการทดสอบโดยไม่ทำลาย, Ultrasonic Testing Method เพื่อยืนยันตำมหลักการทางวิศวกรรม
ตามเอกสารแนบที่ 2.4